เมนู

นาคสมาลุวรรคที่

8

71. อรรถกถานาคสมาลเถราปทาน


อปทานของท่านพระนาคสมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อาปาฏลึ
อหํ ปุปฺผํ
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่ครอบครองเรือน กระทำกรรมคือการเห็นการได้ยิน
และการบูชา ในกาลที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ เพราะไม่ได้ความ
คลุกคลีเกี่ยวข้องด้วยรูปเห็นปานนั้น ในกาลแห่งพระศาสดาปรินิพพาน
แล้ว จัดแจงพระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ยังจิตให้เลื่อมใส
แม้ในเจดีย์ที่ตนกระทำแล้ว บูชาดอกแคฝอย ยังโสมนัสให้เกิด ดำรงอยู่
จนตลอดอายุ ด้วยโสมนัสนั้นนั่นเอง. ท่านทำกาละจากอัตภาพนั้นแล้ว
จึงเสวยสุขในเทวโลก 6 ชั้น มีชั้นดุสิตเป็นต้น ครั้นต่อมาเสวยสมบัติใน
มนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล มีนามา-
ภิไธยอันมารดาบิดาตั้งให้ว่า นาคสมาละ เพราะมีร่างกายเสมือนกับใบ
อ่อนแห่งไม้กากะทิง เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า บวชไม่นานนักก็ได้
เป็นพระอรหันต์.
ภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะประ-
กาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาปาฏลึ อหํ ปุปฺผํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาปาฏลึ ความว่า เราได้ถือเอาดอกแคฝอย

โดยรอบหรือโดยเอื้อเฟื้อ ยกขึ้นบูชาบนพระสถูป. บทว่า อุชฺฌิตํ
สุมหาปเถ
ความว่า ได้ยกขึ้นในหนทางใหญ่ คือในถนนท่ามกลางพระ-
นครเพื่อเป็นที่ไหว้และบูชาของชาวพระนครทั้งปวง อธิบายว่า ให้สำเร็จ
ด้วยกรรมคือการก่อด้วยอิฐ และฉาบด้วยปูนขาวเป็นต้น. คำที่เหลือมี
อรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง และมีอรรถ
ตื้นแล.
จบอรรถกถานาคสมาลเถราปทาน

ปทสัญญกเถราปทานที่ 2 (72)


ว่าด้วยผลแห่งการเสื่อมใสรอยพระบาท


[74] ก็เราได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรงเหยียบไว้ เป็นผู้มีใจ
ร่าเริงโสมนัส ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท.

ในกัปที่ 92 แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย
สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในรอย
พระบาท.

ในกัปที่ 7 แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนานว่าสุเมธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปทสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบปทสัญญกเถราปทาน